วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557

กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ (วันที่27/03/2557)
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กศน.จังหวัดชุมพร
   
นโยบายของศูนย์
  ๑. ยกระดับการศึกษาประชาชนให้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ภายใน ๘ เดือน อย่างมีคุณภาพ
                 ๑.๑ เร่งพัฒนากรอบแนวคิดการประเมินเทียบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๖) ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนที่มีอาชีพมาประเมินเทียบระดับการศึกษาแบบก้าวกระโดดเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนอย่างกว้างขวาง
                 ๑.๒ เร่งพัฒนามาตรฐานระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานกลางสำหรับการประเมินระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตลอดจนพัฒนาตัวบ่งชี้ เครื่องมือประเมินและเกณฑ์การประเมิน
                 ๑.๓ เร่งพัฒนากระบวนการ จัดทำคู่มือการดำเนินงานการประเมินเทียบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตลอดจนพัฒนาสื่อประกอบการเรียนรู้ ทงั้ ในรูปแบบสื่อเอกสารและสื่อเทคโนโลยีที่หลากหลาย และสนองตอบต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
                 ๑.๔ เร่งปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถดำเนินงานการประเมินเทียบระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้อย่างถูกต้องตามข้อกฎหมายทางการศึกษาและเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน
                 ๑.๕ เร่งสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับหน่วยงานและสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน กศน.เกี่ยวกับกรอบแนวคิดและวิธีการดำเนินงานเพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                 ๑.๖ ให้สำนักงาน กศน.อำเภอ/เขต เร่งดำเนินการจัดบริการประเมินเทียบระดับการศึกษาและประสบการณ์อย่างมีคุณภาพ เพื่อยกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของประชาชน
                 ๑.๗ ให้สำนักงาน กศน.จังหวัด/กทม. เร่งรัดการดำเนินการจัดบริการประเมินเทียบระดับการศึกษาและประสบการณ์ เพื่อยกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของประชาชนของ กศน.อำเภอ/เขต ให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
                 ๑.๘ เร่งประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจกับองค์กรหลัก หน่วยงานทางการศึกษาและภาคสังคม เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การดำเนินงานการประเมินเทียบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการยกระดับการศึกษาและเข้ารับบริการประเมินเทียบระดับมัธยมศึกษาตอนปลายอย่างกว้างขวาง
             ๒. เร่งดำเนินการจัดฝึกอบรมอาชีพหลักสูตร OTOP Mini MBA สู่ชุมชน
                 ๒.๑ เร่งดำเนินการจัดฝึกอบรมอาชีพตามหลักสูตร OTOP Mini MBA (การบริหารจัดการธุรกิจสินค้า OTOP ธุรกิจ OTOP ส่งออก การตลาดและช่องทางการจำหน่าย และภาษาอังกฤษธุรกิจ) และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเผยแพร่และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เพื่อพัฒนาการฝึกอบรมการบริหารจัดการธุรกิจให้เป็นระบบครบวงจรและบรรลุผลตามจุดประสงค์ของหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับกลุ่มเป้าหมายอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง
                 ๒.๒ พัฒนาระบบฐานข้อมูลให้สามารถนำไปใช้สนับสนุนการดำเนินการจัดฝึกอบรมอาชีพตามหลักสูตร OTOP Mini MBA ของศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                 ๒.๓ พัฒนาสื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตร OTOP Mini MBA ให้มีความหลากหลายและครบถ้วนเพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนและการปฏิบัติจริง
                 ๒.๔ พัฒนาครูและวิทยากรผู้สอนหลักสูตร OTOP Mini MBA ให้มีความรู้ความเข้าใจหลักสูตร OTOP Mini MBA และสามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
             ๓. เปิดโลก กศน. สู่ กศน.อินเตอร์ เพื่อประชาคมอาเซียน
                 ๓.๑ เร่งจัดทำหลักสูตร สื่อ แบบเรียน และเครื่องมือการวัดผลประเมินผล การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ภาคภาษาอังกฤษเพื่อให้บริการการศึกษาตามหลักสูตรดังกล่าวแก่กลุ่มเป้าหมายผู้สนใจ
                 ๓.๒ เร่งจัดหาครูและผู้เกี่ยวข้อง และพัฒนาสมรรถนะบุคลากรดังกล่าวให้สามารถจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ภาคภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                 ๓.๓ เร่งจัดให้มีห้องเรียนที่จัดการเรียนการสอนหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ภาคภาษาอังกฤษ อย่างน้อยจังหวัดละ ๑ ห้องเรียน
                 ๓.๔ ส่งเสริม สนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนาและจัดการเรียนการสอนหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ภาคภาษาอังกฤษ
                 ๓.๕ พัฒนาระบบการนิเทศ ติดตาม และการวัดและประเมินผลการศึกษา เพื่อการพัฒนาการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ภาคภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับผู้เรียน
             ๔. เสริมสร้างบ้านหนังสืออัจฉริยะและพัฒนานิสัยรักการอ่านของประชาชน
                 ๔.๑ ให้ กศน.อำเภอ/เขต เร่งรัดให้ กศน.ตำบล/แขวงดำเนินการสำรวจความต้องการหนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์อื่นของกลุ่มเป้าหมาย โดยดำเนินการให้ครอบคลุมและทั่วถึงกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่
                 ๔.๒ ให้ กศน.อำเภอ/เขต เร่งจัดตั้งบ้านหนังสือในหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อเป็นห้องสมุดประชาชนหมู่บ้าน/ชุมชน และจัดหาหนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์อื่นสำหรับบ้านหนังสือตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละพื้นที่
                 ๔.๓ ให้ กศน.ตำบล/แขวง ดำเนินการจัดกิจกรรม และประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการจัดกิจกรรมเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของกลุ่มเป้าหมาย โดยการส่งเสริมการอ่านให้เข้าถึงทุกครอบครัวในพื้นที่รับผิดชอบ รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ใช้บริการเกี่ยวกับระเบียบวินัยและข้อพึงปฏิบัติในการใช้บ้านหนังสือหรือห้องสมุดประชาชนหมู่บ้าน/ชุมชน การเคารพสิทธิผู้อื่น ตลอดจนการช่วยกันดูแลรักษาและพัฒนาบ้านหนังสือหรือห้องสมุดประชาชนหมู่บ้าน/ชุมชนให้เป็นบ้านหนังสือเสริมสร้างอัจฉริยภาพของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน อย่างยั่งยืน
                      ๔.๔ เร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการอ่านในฐานะที่เป็นกิจกรรมพื้นฐานในการเสริมสร้างอัจฉริยภาพส่วนบุคคลและความเข้มแข็งของชุมชนและเข้ามามีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องในการดำเนินกิจกรรมบ้านหนังสือหรือห้องสมุดประชาชนหมู่บ้าน/ชุมชน
             ๕. เร่งรัดการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนเพื่อการจัดทำแผนป้องกันภัยพิบัติ
                 ๕.๑ ให้หน่วยงานและสถานศึกษาร่วมกับภาคส่วนต่างๆ และชุมชนในพื้นที่ร่วมดำเนินการจัดทำแผนป้องกันภัยพิบัติจากธรรมชาติเชิงบูรณาการ
                 ๕.๒ ให้หน่วยงานและสถานศึกษาประสานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เตรียมประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจ และมีความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ภัยพิบัติต่างๆเพื่อหลีกเลี่ยงและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ หรือ ผลกระทบจากพื้นที่อื่นๆ
                 ๕.๓ ให้หน่วยงานและสถานศึกษาจัดทำแผนป้องกันภัยพิบัติที่อาจเกิดจากธรรมชาติมนุษย์ หรือจากสาเหตุอื่น และจัดให้มีการซักซ้อมการดำเนินงานตามที่กำหนดในแผนอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง เพื่อหลีกเลี่ยงและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับหน่วยงานและสถานศึกษา
             ๖. เร่งพัฒนาระบบกลไกการกำกับ ติดตาม และนิเทศเพื่อการพัฒนางานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีประสิทธิภาพ
                 ๖.๑ ให้หน่วยงานและสถานศึกษาที่เกี่ยวข้องทุกระดับ เร่งพัฒนาระบบกลไกการกำกับ ติดตามและรายงานผลการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ ให้สามารถตอบสนองการดำเนินงานตามนโยบายในแต่ละเรื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                 ๖.๒ ให้มีการเชื่อมโยงระบบการนิเทศในทุกระดับ ทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกองค์กร ตั้งแต่ส่วนกลาง ภูมิภาค กลุ่มจังหวัด จังหวัด อำเภอ/เขต และตำบล/แขวง เพื่อความเป็นเอกภาพในการใช้ข้อมูล และการพัฒนางานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

วิสัยทัศน์ของศูนย์
    คนไทยได้รับการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำที่มีคุณภาพได้ทุกที่ ทุกเวลา อย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดสังคมฐานความรู้ การมีอาชีพ และการมีความสามารถเชิงการ
แข่งขันในประชาคมอาเซียนอย่างยั่งยืน
กลุ่มเป้าหมายของศูนย์
บุคคล และประชาชนทั่วไปทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่
แหล่งที่มาของศูนย์
 1. ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาในสังกัด กศน. สามารถจัดกิจกรรม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้ตามภารกิจที่กำหนด 2. ส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายร่วมจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนได้อย่างหลากหลาย
 3. ส่งเสริมสนับสนุนและกำกับติดตามให้การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยของสถานศึกษา และภาคีเครือข่ายเป็นไปตามมาตราฐานการศึกษาของชาติและการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

แนวทางในการดำเนินงาน
TEAM WINS
     T Teamwork การทำงานเป็นทีม 
     E Equality of education ความเสมอภาคทางการศึกษา 
     A Accountalility ความรับผิดชอบต่อผลสำเร็จ 
     M Moral and Intergrit y การมีศิลธรรมและความซื่อสัตย์ 
     W Willful มีความมุ่งมั่นตั้งใจทำงานอย่างเต็มศักยภาพ 
     I Improve ourselves รับผิดชอบต่อผลงาน ต่อสังคม การพัฒนาตนเอง อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ 
     N Network and Community การเป็นเครือข่ายที่มีปฏิสัมพันธ์อันดีต่อกับทั้งภายในและภายนอกองค์กร 
     S Service mind มีผลงาน มุ่งเน้นผลงาน การมีจิตใจที่พร้อมให้บริการ
 
 


วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2557

แบบฝึกหัดครั้งที่ 2  วันที่27 /มีนาคม /2557
1. ความหมายของการจัดการ พื้นฐานของการจัดการ

  • การจัดการ เป็นการดำเนินงานหรือกระบวนการใดๆของบุคคลตั้งแต่2คนขึ้นไปเพื่อทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ร่วมกันโดยคำนึงถึงการจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดและมีองค์ประกอบคือ เป้าหมายที่ชัดเจน(Goal) ทรัพยากรในการบริหารมีอยู่อย่างจำกัด(Management resources) การประสานงานระหว่างกัน(Co-ordinate) การแบ่งกันทำงาน( Division)

2. องค์ประกอบของการจัดการ 4 MA 2MO 1ME

  • Man ทรัพยากรบุคคล
  • Materials/Media วัสดุ/สื่อการเรียนรู้
  • Market การตลาด/การประชาสัมพันธ์
  • Machine เครื่องจักร/อุปกรณ์ในการจัดการ
  • Moral ขัวญ/กำลังใจ
  • Money งบประมาณ
  • Methods วิธีการ/กิจกรรม
3. ชมละคร เรื่อง กล้าดี พร้อมวิเคราะห์ ในประเด็นที่กำหนด โดยส่งใน Weblog แต่ละคน พร้อม ส่งเป็นกระดาษในห้องเรียนดังนี้
3.1 กิจกรรมส่งท้ายชั่วโมงกลุ่ม 3 คน ...

  • นางสาวพิชญาภรณ์ เกตุสิงห์ 55540178
  • นางสาววราภรณ์ อักษร         55540204
  • นางสาวศรสวรรค์ แสงเนตร  55540215
3.2 ให้นิสิตตั้งชื่อทีม 

  • มื้อนี้เพื่อน้อง
3.3 ให้เขียนคำขวัญของกลุ่ม

  • น้องอิ่มพี่อด พี่สลดน้องสบายใจ
3.4 ให้นิสิตสมมุติเขียนฝ่ายงานต่าง ๆ ของการออกค่ายอาสาในการจัดค่ายอาสาครั้งนี้จะมีฝ่ายงานต่างๆดังนี้ 

  • 1. ฝ่ายจัดการเรื่องสถานที่ และยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทางจะรับผิดชอบโดย นางสาววราภรณ์ อักษร เพราะเป็นคนในพื้นที่และมีรถส่วนตัวอยู่แล้วจึงเป็นการสะดวกในการติดต่อสถานที่และการเดินทาง
  • 2. ฝ่ายอาหารและนันทนาการ ผู้รับผิดชอบโดยนางสาวศรสวรรค์ แสงเนตร เพราะสามารถทำอาหารได้ และที่บ้านทำการเกษตรเกี่ยวกับพืชผักอยู้แล้ว และยังสามารถช่วยประหยัดงบประมาณได้บางส่วน
  • 3. ฝ่ายการจัดการงบประมาณและการวางแผน ผู้รับผิดชอบโดยนางสาวพิชญาภรณ์ เกตุสิงห์ เพราะมีความรับผิดชอบเรื่องการเงินได้ดีและสามารถจัดองค์ประกอบในการใช้จ่ายได้ดี 
4จากละครให้นิสิตแต่ละกลุ่มวิเคราะห์ดังนี้ 
4.1 ละครดังกล่าวมีการสะท้อนความคิดในเรื่องใด 

  • บทบาทหน้าที่ การจัดการที่ดี คุณธรรมจริยธรรม ความสามัคคีในการทำงานร่วมกัน การทำงานร่วมกับผู้อื่น ความเอื้ออาทร ความเสียสละ ความมีน้ำใจ
4.2 เนื้อหาในละครมีการจัดการหรือไม่ เพราะเหตุใด 

  • ในละครเรื่อง"กล้าดี" มีการสะท้อนแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการที่ดี และความสามัคคีในการทำงานร่วมกัน ในการทำงานร่วมกับกลุ่ม ทีม นั้นการจัดการวางแผนที่ดีถือว่ามีความสำคัญมากต่างคนต่างความคิดเห็น เพราะฉะนั้นเราควรมีการจัดแบ่งหน้าที่ในการทำงานที่ชัดเจน เพื่อลดความขัดแย้งในการทำงานร่วมกัน
4.3 เนื้อหาในละครมีองค์ประกอบของการจัดการ 7 M อะไรบ้างจงอธิบาย

  • Man ทรัพยากรบุคคล คือ กลุ่มนักเรียน และครูที่เข้าร่วมในค่ายอาสา
  • Materials/Media วัสดุ/สื่อการเรียนรู้คือ กีต้าร์ กล่องรับบริจาค วัสดุทำถุงผ้า
  • Market การตลาด/การประชาสัมพันธ์ คือ มีการประชาสัมพันโดยทำถุงผ้าออกขายเพื่อหางบประมาณ และมีการขอรับบริจาคสิ่งของ เงินจากผู้ที่ใจบุญ
  • Machine เครื่องจักร/อุปกรณ์ในการจัดการ คือ อาหาร เครื่องดื่ม ยานพาหนะที่ใช้สำหรับการเดินทาง
  • Moral ขวัญกำลังใจ คือการพูดคุยปลอบโยนกันในกลุ่มเพื่อน การดูแลกัน การแก้ไขปัญหาร่วมกัน
  • Money งบประมาณ คือการทำกระเป๋าผ้าขาย และการขอรับเงินบริจาคจากผู้ที่ใจบุญ
  • Methods วิธีการ/กิจกรรม คือ มีการจัดเตรียมเพลงเพื่อใช้ในการทำกิจกรรมในค่าย
4.4 เนื้อหาในละครมี POSDCORB อย่างไรจงอธิบาย

  • ในละครมีการวางแผนในการออกค่ายที่ห้องพระ มีการวางแผนเรื่องการไปทำบุญที่วัด การจัดโครงสร้าง การออกทำบุญ การแบ่งฝ่ายในการทำงานการจัดคน คือ มีการแบ่งหน้าที่งานในแต่ละฝ่าย การอำนาวยงาน การอำนวยความสะดวกในการทำงาน การประสานงานคือ การติดต่องานในแต่ละฝ่าย การรายงาน คือ การสนองผลตอบกลับ การแจ้งผลให้เพื่อนในกลุ่มทราบ การอภิปรายร่วมกัน งบประมาณ คือ การจัดสรเงินในการทำงาน ในการใช้จ่าย
แบบฝึกหัดครั้งที่ 1 25/03/2557
1. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ถ้าแบ่งตามกลุ่มเป้าหมายของระบบการศึกษาได้กี่ประเภท อะไรบ้างจงอธิบาย
ตอบ 3 ประเภท ได้แก่
   1. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษาในระบบ
เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนการเรียนการสอนทั้งสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ เช่น ห้องสมุดศูนย์โสตทัศนสัสดุ เป็นต้น
2. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษานอกระบบ

มีเป้าหมายโดยมุ่งบริการกับผู้เรียนที่มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้พื้นฐานทักษะการประกอบอาชีพ และทักษะที่จำเป็นในความรู้ด้านอื่นๆ เช่น ศูนย์ ฝึกวิชาชีพ ศูนย์การเรียน เป็นต้น
3.ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัย

เป็นศุนย์รวมที่ให้การศึกษาจากประสบการณ์การทำงาน บุคคล สื่อมวลชน ชุมชน แหล่งความรู้ต่างๆ      เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้แก่ พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ เป็นต้น

2. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไรจงอธิบาย
ตอบแตกต่างกันในวัตถุประสงค์ของการให้บริการโดยแยกตามเป้าหมายของการให้บริการแต่ละประเภทอย่างชัดเจน
3. ให้นิสิตหาตัวอย่างศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ประเภท ละ 3 ศูนย์ พร้อมบอกสถานที่ตั้ง และกลุ่มเป้าหมายของศูนย์นั้น ๆ พร้อมแหล่งอ้างอิง โดย Copy URL ของ Youtube มาใส่
ตอบ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษาในระบบ
1. หอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มเป้าหมาย นิสิตมหาวิทยาบูรพา บุคลากร บุคคลทั่วไป
แหล่งอ้างอิง http://www.youtube.com/watch?v=vJlY70vq-DE
 2. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สวนสมุนไพร โรงเรียนดอนกลางนุกลูวิทย์ จ.มหาสารคาม กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนในโรงเรียนดอนกลางนุกลูวิทย์ ผู้ปกครอง บุคลากร บุคคลทั่วไป
แหล่งอ้างอิง http://www.youtube.com/watch?v=2vHe7Wo3qos

 3. Mahidol Learning Center ศูนย์การเรียนรู้มหิดล กลุ่มเป้าหมายนิสิตมหาวิทยาลัยมหิดล บุคลากร บุคคลทั่วไป    
หล่งอ้างอิง http://www.youtube.com/watch?v=AoZe8TGyJCQ
  ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษานอกระบบ   
1. ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา กลุ่มเป้าหมาย บุคคลทั่วไป
แหล่งอ้างอิง http://www.youtube.com/watch?v=QRySE39tjQg
2. ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพแม่ฮ่องสอน จ.แม่ฮ่องสอน  กลุ่มเป้าหมาย บุคคลทั่วไป
 แหล่งอ้างอิง http://www.youtube.com/watch?v=_kY95PRxl-I
3. ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม จ.สกลนคร กลุ่มเป้าหมาย บุคคลทั่วไป
 แหล่งอ้างอิง http://www.youtube.com/watch?v=ZjOtNpP4hXA
   ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัย
1. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มเป้าหมาย บุคคลทั่วไป
 แหล่งอ้างอิง http://www.youtube.com/watch?v=AywvClsAVdo
2. หอศิลป์และวัฒนธรรมภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มเป้าหมาย บุคคลทั่วไป
 แหล่งอ้างอิง http://www.youtube.com/watch?v=PZ3y8Fo0eTc
 3. ท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพมหานคร กลุ่มเป้าหมาย บุคคลทั่วไป
 แหล่งอ้างอิง http://www.youtube.com/watch?v=Be2uN-ZOAXU